วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข่าวสำหรับวันนี้

ชาวบ้านที่อยู่ติดสถานีวิทยุวอยซ์ ออฟ อเมริกา จ.อุดรธานี เชื่อ ไม่มีคุกลับในสถานี หลังคนพุ่งเป้าว่าอาจเป็นที่ตั้งของคุกลับตามที่วุฒิสภาสหรัฐฯ อ้าง เผย เคยมีข่าวลือมาตั้งนานแล้ว

              สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา เผยแพร่รายงานของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) อ้างว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคุกลับ และใช้วิธีการสอบสวนด้วยการทรมานให้รับสารภาพ ซึ่งภายหลัง นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ ได้ออกมาปฏิเสธแล้วนั้น

              จากประเด็นดังกล่าวได้ทำให้หลายฝ่ายพุ่งความสนใจไปที่สถานีวิทยุ VOA THAI หรือ วอยซ์ ออฟ อเมริกา ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,500 ไร่ ในตำบลบ้านชัย อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 ผู้สื่อข่าวทีนิวส์ ได้ไปตรวจสอบสถานีวิทยุดังกล่าว พบหน้าประตูทางเข้ามีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่ 3 นาย คอยตรวจตรารถที่วิ่งเข้า-ออก รวมทั้งตรวจวัตถุระเบิดใต้ท้องรถ อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพบผู้สื่อข่าวกำลังถ่ายภาพอยู่ จึงได้เดินเข้ามาขอให้ลบภาพถ่ายทั้งหมด

              ขณะที่ผู้สื่อข่าวเองยังได้ไปพูดคุยสอบถามชาวบ้าน อย่างเช่น นางทองนาค พานนท์ อายุ 68 ปี ที่มีบ้านอยู่ติดกับรั้วสถานีวิทยุ ทราบว่า นางทองนาคกับครอบครัวพักอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านหนองไฮมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ภายหลังได้มีการสร้างสถานีวิทยุ VOA THAI ขึ้นในบริเวณทุ่งนาและป่าละเมาะเดิม ทำให้ครอบครัวนางทองนาคต้องย้ายออกมาตั้งร้านขายของชำที่ริมถนนใกล้ ๆ กับสถานที่ตั้งของสถานีวิทยุแทน อย่างไรก็ตามตอนที่มีการก่อสร้าง ชาวบ้านเองก็ไม่รู้ว่าเป็นการก่อสร้างอะไร รู้แต่ว่าห้ามคนเกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ ภายหลังจึงได้ทราบว่าเป็นสถานีวิทยุ VOA ส่วนเรื่องคุกลับนั้นเคยมีข่าวลือเมื่อนานมาแล้ว

              ด้าน นายชาลี  พิมพ์วงศ์ อายุ 62 ปี ชาวบ้านในละแวกนั้น กล่าวเช่นกันว่า เคยได้ยินข่าวลือเรื่องคุกลับเมื่อนานมาแล้ว เป็นการบอกเล่าต่อกันมา แต่มีครูคนหนึ่งที่ลาออกจากราชการแล้วเข้าไปทำงานที่สถานีวิทยุ ออกมายืนยันว่าข่าวลือไม่เป็นความจริงล้านเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามตนมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในเกินกว่าที่ชาวบ้านจะรับรู้ น่าจะปล่อยให้เป็นเรื่องของระดับสูงเท่านั้น

              ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวยังรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2548 เคยมีข่าวการนำนักโทษของซีไอเอมาคุมขังในสถานีวิทยุแห่งนี้ ทำให้ นายจารึก ปริญญาพล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ในสมัยนั้น ต้องนำสื่อมวลชนเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ภายในสถานีวิทยุ เพื่อยืนยันว่าที่นี่ไม่มีคุกลับตามข่าว มีแต่เพียงอุปกรณ์สื่อสาร จานดาวเทียมรับคลื่นในการถ่ายทอดสัญญาณไปต่างประเทศเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560


ข่าวสารสำหรับวันนี้..

    ..ค่ายรามสูร เป็นฐานอิเลกโทรนิกของอเมริกาสมัยสงครามเวียดนาม มีฐานเรดาห์ กับ ศูนย์รวบรวมข้อมูลอิเลกโทรนิก( ศุนย์ตรวจจับสัญญาณ วิทยุ ) ค่ายรามสูร ตั้งอยู่หมู่บ้านโนนสูง ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี Camp Ramasun Station เป็นที่ตั้งสถานีเรดาร์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยสงครามเวียดนาม ของอเมริกัน  ว่ากันว่า รัศมีตรวจจับไปไกลถึงประเทศจีน…

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

   ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ศูนย์อาหารค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี)1. จากการสำรวจในการทำเพจนี้พบปัญหาการค้าขายของเรา ซึ่งการขายมีแต่ลูกค้าที่่เป็นทหารค่ายของเรา ซึ่งตอนนี้ลูกค้าที่เป็นบุคคลภายนอกยังไม่เห็นใครเข้ามาอุดหนุนศูนย์อาหารของเราเลย2. วางแผนการทำงานตั้งแต่ร้านเปิดกิจการจนกว่าทางร้านของเราจะปิดตัวลง3. เรื่องค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านในครั้งนี้ก็จะมีแค่ค่าน้ำมันไปตลาดไปซื้อของมาขายแล้วก็ค่าที่ซื่อของมาเพิ่ม   วิเคราะห์ความต้องการ(Requirement Analysis)
1.ผู้ซื้อสามารถสั่งอาหารได้ตามเมนู
2.ผู้ซื้อต้องตระหนักถึงความละเอียดและความสะอาดทุกครั้ง
3.ผู้ซื้อต้องการอาหารที่แปลกใหม่ อร่อย สด สะอาด
4.เพจดูแล้วเข้าใจง่าย
5.ทั้งเพจ, ทวิตเตอร์ , บล็อกเกอร์
6.ด้าน Software คือ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายภาพที่พร้อมใช้งาน
7.ด้าน Hardware คือ อินเทอร์เน็ต หรือ แอพพลิเคชั่นต่างๆเช่น Facebook , Twitter , Blogger
   ติดตั้งและบำรุงรักษา System Implement and Maintenance
- อัปเดตข้อความ อัปเดตสารสนเทศทุกสัปดาห์ อัปเดตข้อความต่างๆอย่างสม่ำเสมอ อัปเดตเป็นข้อมูลสาธารณะเพื่อที่จะให้ผู้คนที่สนใจได้เข้ามากด Like กด Share ได้
1.ผู้ซื้อสามารถสั่งอาหารได้ตามเมนู2.ผู้ซื้อต้องตระหนักถึงความละเอียดและความสะอาดทุกครั้ง3.ผู้ซื้อต้องการอาหารที่แปลกใหม่ อร่อย สด สะอาด4.เพจดูแล้วเข้าใจง่าย5.ทั้งเพจ, ทวิตเตอร์ , บล็อกเกอร์6.ด้าน Software คือ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายภาพที่พร้อมใช้งาน7.ด้าน Hardware คือ อินเทอร์เน็ต หรือ แอพพลิเคชั่นต่างๆเช่น Facebook , Twitter , Blogger   ติดตั้งและบำรุงรักษา System Implement and Maintenance- อัปเดตข้อความ อัปเดตสารสนเทศทุกสัปดาห์ อัปเดตข้อความต่างๆอย่างสม่ำเสมอ อัปเดตเป็นข้อมูลสาธารณะเพื่อที่จะให้ผู้คนที่สนใจได้เข้ามากด Like กด Share ได้

วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คุกลับกับ "ค่ายรามสูร"

กลับมาเป็นข่าวอีกรอบ กรณีที่มีรายงานข่าวเกี่ยวกับ "คุกลับ" ที่ภาคอีสาน ซึ่งอาจเป็นที่จังหวัดอุดรธานี
สืบเนื่องมาจากสงครามก่อการร้าย ที่สหรัฐอเมริกาทำตัวเป็น"ตำรวจโลก"ไล่จับกุมผู้ก่อการร้ายตัวเป้งๆ ซึ่งหลายประเทศที่มีเจ้าหน้าที่"ซีไอเอ"ประจำการอยู่ ก็จะมีสถานที่ควบคุมตัวเพื่อสอบสวน และดำเนินการส่งผู้ก่อการร้ายไปยังเรือนจำอีกทอดหนึ่งที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีไทยหลายคน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีคุกลับ หรือสถานที่ควบคุมในการสอบสวนในชั้นต้นอยู่ในประเทศไทย
ล่าสุด สถานทูตสหรัฐอเมริกา เตือนประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ให้เพิ่มความระมัดระวังในเรื่องการก่อการร้าย โดยพาดพิงว่ามีการใช้คุกลับในประเทศไทยทรมานชาวอัลกออิดะห์
พล..อุดมเดช สีตบุตรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก ได้ปฏิเสธอีกครั้งว่า ไม่เคยมีการกระทำเช่นนั้น และยังไม่เคยได้รับรายงาน
แต่ในสื่อสังคมออนไลน์ได้พากันวิพากษ์วิจารณ์กันไปมากมาย โดยคนกลุ่มหนึ่งพุ่งเป้าไปที่"ค่ายรามสูร"เมืองอุดรฯ ว่าเป็นสถานที่ควบคุมตัวผู้ก่อการร้ายนามกระเดื่องคนหนึ่งเมื่อ9ปีที่แล้ว
ค่ายรามสูร ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโนนสูง ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ"กองพันทหารราบที่1กรมทหารราบที่13"
เดิมทีกองทัพสหรัฐ ตั้งค่ายรามสูร เป็นสถานีตรวจจับสัญญาณคลื่นวิทยุสื่อสารที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ปี2507ในภารกิจสงครามเวียดนาม และสงครามลับในลาว
เมื่อสงครามยุติ ทหารสหรัฐ ได้ขนย้ายอุปกรณ์สื่อสารออกไปหมด และได้โอนพื้นที่800ไร่3งาน23พร้อมตาข่ายเหล็กล้อมรอบให้กับกองทัพบกไทยซึ่งกองทัพบกได้มอบให้กองพันทหารราบที่1กรมทหารราบที่13ดูแลรับผิดชอบ
ค่ายรามสูร เป็นส่วนหนึ่งของสงครามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ เช่นเดียวกับ"หน่วยผสม333"หรือ"บก.333"ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี2504มีฐานบัญชาการอยู่ที่บริเวณถนนหมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
ภารกิจที่"บก.333"ได้รับมอบหมายนั้นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การสู้รบในลาว
เนื่องจากรัฐบาลลาวฝ่ายขวาประสบภัยคุกคามจาก"แนวร่วมลาวกู้ชาติ"กับพันธมิตรเวียดนามเหนือ
และในขณะนั้น ไทยมีความเชื่อในเรื่องทฤษฎีโดมิโน จึงเกรงว่าหากราชอาณาจักรลาว ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์เมื่อใด ไทยก็คงหนีจากภัยคอมมิวนิสต์ไม่พ้น
บก.333ได้ปฏิบัติงานหาข่าว และจัดครูฝึกในรูปการปฏิบัติการพิเศษ ทำการฝึกประชาชนลาวในท้องถิ่นให้เป็นทหาร เพื่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์
สนามรบในลาวจัดเป็นส่วนสำคัญของสมรภูมิอินโดจีน แม้รัฐบาลสมัยนั้นจะไม่ยอมรับการมีอยู่จริงของกองกำลัง"เสือพราน"ในสมรภูมิรบเมืองลาว แต่โลกคงปฏิเสธความจริงข้อนี้ไม่ได้
สงครามลับในลาว โดย"บก.333"เป็นการทำงานร่วมกับสามฝ่ายระหว่างลาว ไทย และสหรัฐ
ซีไอเอคือหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลสหรัฐ ทำหน้าที่ควบคุม"บก.333"ทำการรบในสมรภูมิลาว ที่เป็นการรบนอกแบบ และเป็นภารกิจลับที่สุด
ทุกคนที่เข้าไปทำงานในลาว ต้องปกปิดตัวเอง ไม่บอกให้ผู้ใดได้รับรู้ถึงภารกิจที่ต้องปฏิบัติแม้แต่ตัวผู้ปฏิบัติ ก็ได้รู้เฉพาะภารกิจที่เกี่ยวกับหน้าที่ของตนเท่านั้น
จวบจนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลไทยก็ไม่เคยยอมรับภารกิจ"สงครามลับ"ของทหารไทยในลาว
แม้จะมีการจัดตั้งสมาคมนักรบนิรนาม333ขึ้นมา มีอดีตนายทหารหลายนายเสนอแผนให้ไปนำอัฐิเพื่อนนักรบกลับบ้าน แต่รัฐบาลไทยไม่อนุมัติให้มีการไปขุดค้นหากระดูกนักรบเสือพรานในแผ่นดินลาว
เมื่อเป็นสงครามลับก็ต้อง"ลับ"กันต่อไป แต่จะนำกรณีนี้ไปเปรียบเทียบกับเรื่อง"คุกลับ"ได้หรือไม่นั้น..เชื่อว่าอีกไม่นานความจริงคงปรากฏ



อบจ.อุดรธานี ประชุมร่วมคณะนายทหารกรมทหารราบที่ 13 เร่งพัฒนาพิพิธภัณฑ์ค่ายรามสูร ส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ รองนายกอบจ. และคณะ เดินทางตรวจติดตามโครงการพัฒนาส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ หรือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร ที่ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ต.โนนสูง โดยมี พ.ท.รัชกฤษ แดงไธสง ผบ.กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 นำคณะนายทหาร ร่วมประชุมและเยี่ยมชม สำรวจสถานที่
       พ.ท.รัชกฤษ เปิดเผยว่า ในปี 2507 ได้มีทหารอเมริกันเดินทางเข้ามากางเต้นท์และพักอาศัยอยู่จำนวนมากที่บ้านโนนสูง ในห้วงสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้มาติดต่อขอซื้อที่ดินซึ่งเป็นพื้นที่นาร้าง สร้างเป็นค่ายทหาร เป็นสำนักงานที่พักอาศัย มีสนามกีฬาและสถานที่อำนวยความสะดวกนานาประการ รวมทั้งสถานีเรดาห์เครือข่ายติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย  ต่อมามีการปรับโยกย้ายหน่วย เหลือเพียงสิ่งก่อสร้างให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเยี่ยมชม โดยเฉพาะอาคารเรดาร์ ทางเข้าออกใต้ดินยังสมบูรณ์ จึงมีการบูรณะซ่อมแซม ปรับพื้นที่ ใช้งบประมาณของกองทัพบก และอบจ.อุดรธานี สนับสนุนงบก่อสร้างถนนภายในโครงการ 7,700,000 บาท ซึ่งได้ปรับปรุงพื้นที่เรียบร้อยแล้ว
         นายวิเชียรฯ นายก อบจ.อุดรธานี กล่าวว่า อบจ.ได้เข้ามาร่วมพัฒนาปรับปรุงอาคารเรดาร์ ให้สวยงาม สะดวกสบายมากขึ้น เพื่อความสมบูรณ์ของพิพิธภัณฑ์ ขณะเดียวกันอาจจะมีอาคารสำหรับจำหน่ายสินค้าเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวของทหาร และสิ่งอื่นๆที่จะดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ต้องเร่งพัฒนาโดยเร็วเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของ จ.อุดรธานี

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

เมื่อวันที่18กันยายน2560
ณ โรงแรมนภาลัย
ทางหน่วยงานได้จัดอบรมข้าราชการเกษียณอายุราชการ






สุกี้น้ำ

สุกี้แห้ง

กระเพาหมูกรอบสามชั้น

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560


ศูนย์อาหารค่ายพระยาสุนทร หรือที่เรียกกันว่า ค่ายรามสูร







วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

ศูนย์อาหารค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ค่ายรามสูร

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ค่ายรามสูร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ค่ายรามสูร